วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรื่อง  สำนวน  สุภาษิต  และคำพังเพย

 สำนวน     คือ     ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ  ไม่ตรงกับ
ความหมายที่ใช้ตามปกติทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย   หรือ   ความหมายในเชิงเปรียบเทียบเป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาวๆ  ให้กะทัดรัดบางส่วนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย


สุภาษิต     คือ     คำพูดที่ถือเป็นคติ   มีความลึกซึ้งใช้สั่งสอนถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล    เช่น  สุภาษิตสอนหญิง   สุภาษิตพระร่วง   ก็มีข้อความสั่งสอนที่ค่านิยมของสมัยนั้นๆไว้อย่างชัดเจนตลอดจนพุทธสุภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา






คำพังเพย   คือ   เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ ที่ใช้ติชม  ซึ่งสะท้อน ถึงความคิด ความเชื่อถือและค่านิยม  อันเป็นลักษณะของคนไทย  เช่น  ค่านิยมในการยกย่องผู้อาวุโส  เคารพครูบาอาจารย์และนิยมความสุภาพอ่อนโยน     







สำนวน    สุภาษิต    คำพังเพย  
ไม่กระดิกหู                       หมายถึง      ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
กงเกวียน  กำเกวียน        หมายถึง      ทำกับเขาอย่างไร  เขาก็ทำแก่ตนอย่างนั้น
กระชังหน้าใหญ่               หมายถึง      ใช้จ่ายไม่ยั้งมือ  ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ
กระต่ายตื่นตูม                 หมายถึง       ตื่นตกใจง่ายโดยไม่สำรวจให้ท่องแท้
กระต่ายหมายจันทร์         หมายถึง      ชายที่หมายปองหญิงที่มีฐานะสูงกว่า