วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรื่อง  สำนวน  สุภาษิต  และคำพังเพย

 สำนวน     คือ     ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ  ไม่ตรงกับ
ความหมายที่ใช้ตามปกติทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย   หรือ   ความหมายในเชิงเปรียบเทียบเป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาวๆ  ให้กะทัดรัดบางส่วนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย


สุภาษิต     คือ     คำพูดที่ถือเป็นคติ   มีความลึกซึ้งใช้สั่งสอนถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล    เช่น  สุภาษิตสอนหญิง   สุภาษิตพระร่วง   ก็มีข้อความสั่งสอนที่ค่านิยมของสมัยนั้นๆไว้อย่างชัดเจนตลอดจนพุทธสุภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา






คำพังเพย   คือ   เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ ที่ใช้ติชม  ซึ่งสะท้อน ถึงความคิด ความเชื่อถือและค่านิยม  อันเป็นลักษณะของคนไทย  เช่น  ค่านิยมในการยกย่องผู้อาวุโส  เคารพครูบาอาจารย์และนิยมความสุภาพอ่อนโยน     







สำนวน    สุภาษิต    คำพังเพย  
ไม่กระดิกหู                       หมายถึง      ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
กงเกวียน  กำเกวียน        หมายถึง      ทำกับเขาอย่างไร  เขาก็ทำแก่ตนอย่างนั้น
กระชังหน้าใหญ่               หมายถึง      ใช้จ่ายไม่ยั้งมือ  ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ
กระต่ายตื่นตูม                 หมายถึง       ตื่นตกใจง่ายโดยไม่สำรวจให้ท่องแท้
กระต่ายหมายจันทร์         หมายถึง      ชายที่หมายปองหญิงที่มีฐานะสูงกว่า







เรื่อง มาตราตัวสระกด


       มาตราตัวสะกด คือ กลุ่มพยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายคำหรือพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามพยัญชนะที่นำมาประกอบ เช่น ตา เมื่อประสมกับ ล กลายเป็น ตาล, ชา เมื่อประสมกับ ม  กลายเป็น ชาม เป็นต้น

มาตราตัวสะกด มี 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง 

       1. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา ดังนี้

           แม่กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ง เช่น กางเกง กระโปรง รองเท้า หนังสือ โรงเรียน ยางลบ เตียง พวงกุญแจ กล่องดินสอ ห่วงยาง ฯลฯ





           แม่กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ม เช่น ร่ม ส้อม พัดลม กระดุม แชมพู โฟมล้างหน้า สนามกีฬา เข็มกลัด โคมไฟ ไอศกรีม ฯลฯ






           แม่เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ย เช่น สร้อยคอ กระเป๋าสะพาย ทางม้าลาย น้อยหน่า พลอย นักมวย  รอยเท้า ไฟฉาย ถ้วยกาแฟ ป้ายจราจร






           แม่เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ว เช่น คอมพิวเตอร์ แก้วน้ำ มะนาว ไข่เจียว ก๋วยเตี๋ยว ทิวทัศน์ มะพร้าว ต้นข้าว ดวงดาว บ่าวสาว นิ้ว ฯลฯ







 


        2. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี 4 มาตรา คือ

           แม่กน  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ  น ญ ณ ร ล ฬ เช่น ช้อน กรรไกร บันได ยาสีฟัน โลชั่น ฟุตบอล การบ้าน ตู้เย็น ปฏิทิน เหรียญ แจกัน





           แม่กก  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ก ข ค ฆ เช่น  กระจก หมวก คุกกี้  ที่พัก ก้อนเมฆ ตุ๊กตา กระติกน้ำ เนคไท สติ๊กเกอร์ จิ๊กซอว์ สุนัข





           แม่กด  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น กระดาษ สมุดโน้ต ไม้บรรทัด นิตยสาร ไม้กวาด คีย์บอร์ด เสื้อเชิ้ต เตารีด โทรทัศน์ โปสเตอร์ รถเมล์





           แม่กบ  พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ บ ป ภ พ ฟ เช่น โทรศัพท์ รูปถ่าย ไมโครเวฟ ลิปสติก ธูปเทียน กรอบรูป ทัพพี ตะเกียบ ตลับยา แท็บเล็ต









             สำหรับข้อมูลมาตรตัวสะกดที่นำมาเสนอในครั้งนี้ น่าจะทำให้หลาย ๆ คน เข้าใจในหลักการสะกดคำมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วหลักการใช้ภาษาไทยไม่ได้ยากอย่างที่คิด หากเราเข้าใจในพื้นฐานเบื้องต้นก็จะสามารถสร้างสรรค์คำใหม่ขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถอ่านออกเสียงคำและข้อความต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นด้วยค่ะ

 
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น